นักเขียนบทความนับจำนวนคำกันอย่างไร แล้วผู้ว่าจ้างจะตรวจจำนวนคำในบทความแบบไหน มาอ่านกัน

-A A +A
นักเขียนบทความนับจำนวนคำกันอย่างไร แล้วผู้ว่าจ้างจะตรวจจำนวนคำในบทความแบบไหน มาอ่านกัน

นักเขียนบทความนับจำนวนคำกันอย่างไร แล้วผู้ว่าจ้างจะตรวจจำนวนคำในบทความแบบไหน มาอ่านกัน

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นบทความเยอะแยะมากมาย ทั้งการให้ข้อมูลสินค้า รีวิวสินค้า หรือแม้แต่การเขียนเรื่องสั้นลงบนเว็บไซต์

หากเว็บนั้นๆ เจ้าของเว็บเป็นคนที่เขียนบทความเป็นอยู่แล้ว หรือมีทีมงานเขียนบทความเป็นหลักอยู่แล้ว การนับจำนวนคำในบทความก็คงจะไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะเนื้อหาจะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับประเด็นและข้อมูลที่หามาได้ รวมไปถึงความพอใจของผู้เขียนเอง

ทว่าในกรณีที่เจ้าของเว็บไซต์เขียนบทความไม่เป็นและไม่มีทีมงานดูแลในส่วนนี้ การที่จะมีบทความรีวิวสินค้า หรือบทความให้ข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ได้นั้น เจ้าของเว็บก็จะต้องว่าจ้างนักเขียนบทความ หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า “นักเขียนอิสระ” เพื่อมาเขียนบทความในหัวข้อต่างๆ ให้ ซึ่งราคาจะถูกจะแพง โดยหลักแล้วก็จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายในประเด็นที่ให้เขียน อีกประการที่ใช้พิจารณาก็คือความยาวของบทความ

ในการจ้างเขียนบทความทั่วไป เท่าที่พบก็มักจะคิดเงินกันตามจำนวนคำ เช่น 100 คำ ต่อ 20 บาท หรือ 100 คำ ต่อ 30 บาท โดยเกณฑ์ของราคาส่วนหนึ่ง อาจตัดสินกันที่ความยากง่ายในการหาข้อมูลด้วย หากประเด็นที่ว่าจ้างให้เขียนหาข้อมูลยาก หรือเรียบเรียงยาก ราคาก็อาจโดดขึ้นไปถึง 100 คำ ต่อ 50 บาท หรือแพงกว่านั้นกันเลยทีเดียว

ในกรณีที่เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ว่าจ้างเกิดความสงสัย ว่าบทความที่ทางนักเขียนส่งให้มีจำนวนคำครบท่วนหรือไม่ มีวิธีดูไม่ยาก เพียงแค่ใช้งาน Microsoft Word เป็นก็เช็คดูได้แล้วครับ โดยวิธีทำมีดังนี้

  1. เปิดไฟล์เอกสารที่ต้องการตรวจสอบขึ้นมา ในกรณีที่เนื้อหาอยู่บนเว็บให้ก๊อปปี้มาวางลงใน Microsoft Word ก่อน ในส่วนของการเปิดไฟล์เอกสาร จะต้องคลิกขวา มองหาคำว่าแก้ไข จากนั้นคลิกเปิด เพราะหากเปิดด้วยวิธีปกติ บางครั้งอาจแก้ไขไฟล์เอกสาร หรือดูจำนวนคำในเอกสารไม่ได้

  2. เมื่อเปิดไฟล์เอกสารเรียบร้อย ให้คลิกขวา จากนั้นมองหาแท็บเมนู Review

  3. ถัดมา ให้เข้าไปที่คำว่า การพิสูจน์อักษร

  4. จากนั้นไปที่ นับจำนวนคำ

เมื่อเราเข้าไปที่นับจำนวนคำ ก็จะมีข้อมูลต่างๆ ขึ้นให้เราดูครับ เช่นจำนวนหน้า จำนวนคำ จำนวนตัวอักษร

นอกจากการเช็คด้วย Microsoft Word ยังทำได้อีกวิธี นั่นคือใช้เครื่องมือออนไลน์ที่บางเว็บไซต์มีให้บริการ แต่จากการทดลองหลายครั้ง ทำให้ผมรู้ว่าข้อมูลเรื่องจำนวนคำไม่ตรงกัน ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเป็นเพราะเครื่องมือใช้หลักเกณฑ์การนับคำต่างกัน โดยส่วนมาก นักเขียนจะใช้ตัวนับจาก Microsoft Word ดังนั้นหากจะเช็คจำนวนคำ ผมแนะนำใช้ Microsoft Word ดีที่สุดครับ เพราะข้อมูลจะได้ตรงกัน

แค่ทำตามขั้นตอนนี้ เจ้าของเว็บหรือผู้ว่าจ้างก็จะรู้ในทันทีครับ ว่างานที่รับมานั้น มีจำนวนคำครบตามที่ตกลงกับนักเขียนเอาไว้ในเบื้องต้นหรือไม่

ทั้งนี้ นักเขียนที่รับเขียนบทความโดยส่วนใหญ่ เวลาเขียนบทความแต่ละครั้งก็มักจะเขียนเกินจำนวนคำที่ตกลงเอาไว้ในเบื้องต้นอยู่แล้วครับ เพราะอย่าลืมว่า ในการเขียนบทความแต่ละครั้ง ไม่ใช่ว่าพอครบจำนวนคำแล้วจะหยุดเขียนเอาดื้อๆ ได้เลย หากเขียนบทความไปแล้วข้อมูลไม่ครบท่วน หรือจบบทความไม่สวย ใครจะมาจ้างต่อใช่มั้ยละครับ นอกจากนี้ หากเขียนจบแบบห้วนๆ ตัวนักเขียนนั่นแหละที่จะรู้สึกขัดใจเองซะมากกว่า

จริงๆ นอกจากคิดราคาตามจำนวนคำ ก็ยังมีการคิดราคาในการรับเขียนบทความในแบบอื่นด้วย เช่นคิดเป็นบทความไปเลย หรือคิดแบบเหมาจ่าย เช่นทีละบทความ หรือจ้างให้เขียนเป็นเดื่อนละกี่บทความก็ว่ากันไป ซึ่งเรื่องแบบนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการพูดคุยกัน ระหว่างผู้ว่าจ้างและนักเขียนที่รับเขียนครับ

แสดงความคิดเห็น

 
 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.