มาทำความเข้าใจกับแผนออมเงินพร้อมลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF และ RMF ทางเลือกที่ใช่สำหรับมนุษย์เงินเดือน

-A A +A
มาทำความเข้าใจกับแผนออมเงินพร้อมลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF และ RMF ทางเลือกที่ใช่สำหรับมนุษย์เงินเดือน

มาทำความเข้าใจกับแผนออมเงินพร้อมลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF และ RMF ทางเลือกที่ใช่สำหรับมนุษย์เงินเดือน

มาทำความเข้าใจกับแผนออมเงินพร้อมลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF และ RMF ทางเลือกที่ใช่สำหรับมนุษย์เงินเดือน

                เพราะมนุษย์เงินเดือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งหลายคนต้องชำระภาษีเพิ่มเป็นเงินจำนวนไม่น้อย การหาวิธีลดหย่อนภาษีจึงเป็นแนวทางที่หลายคนใช้วางแผนสำหรับการยื่นภาษีเป็นประจำทุกปี ในปัจจุบันกรมสรรพากรได้เปิดให้นำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มายื่นเพื่อลดหย่อนภาษีได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา การทำประกันชีวิต รวมถึงการลงทุนในระยะยาวผ่านกองทุนที่เรียกว่า rmf และ SSF

            รู้จัก 2 กองทุนที่เป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีให้กับมนุษย์เงินเดือน

                กองทุน SSF (Super Saving Fund) เป็นกองทุนที่เพิ่งเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับมนุษย์เงินเดือนเมื่อช่วงปี 2563 แทนกองทุน LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่หมดอายุไปในปี 2562 กองทุน SSF นี้สามารถเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นหุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้และทองคำ โดยผู้ที่จะลงทุนสามารถเลือกกองทุน SSF ที่เหมาะสมกับความต้องการได้ ไม่มีข้อกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการลงทุนแต่ละครั้งและไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้สามารถซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษี ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ทั้งนี้จะต้องถือกองทุนที่ซื้อและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนี้ไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

                กองทุน rmf (More information : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/fund/retirement-mutual-funds.html) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่มุ่งส่งเสริมการออมในระยะยาวเพื่อความมั่นคงหลังเกษียณการทำงาน โดยสามารถเลือกลงทุนได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้และทองคำ ทั้งยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีประเภทอื่น ๆ (เช่น SSF) ด้วยแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับกองทุนประเภทนี้จะต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากการซื้อครั้งแรกและจะขายกองทุนได้เมื่ออายุของผู้ถือหน่วยลงทุนครบ 55 ปี โดยมีข้อกำหนดให้ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีหรือซื้อแบบปีเว้นปีก็ได้

                การลงทุนแบบ dca ช่วยเฉลี่ยต้นทุนและลดภาษีได้อย่างลงตัว

            การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีเป็นประจำนั้นจะช่วยเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลงได้ในระยะยาว เหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาหรือไม่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวของมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) เป็นประจำก็สามารถเลือกวิธีการลงทุนแบบ dca (Dollar Cost Average) ได้ โดยสามารถแจ้งกับทางผู้จัดการกองทุนขอลงทุนในจำนวนเท่า ๆ กันเป็นประจำทุก ๆ เดือนโดยไม่ต้องสนใจ NAV ในช่วงนั้น ๆ หรือจะใช้วิธีการให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเป็นประจำทุกเดือนเพื่อนำไปลงทุนในกองทุนที่เลือกก็ได้ ซึ่งวิธีการแบบนี้เองจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาวต่ำในทุกสภาวะตลาด

                การเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีที่ใช่ด้วยวิธีการลงทุนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนลดภาระภาษีเงินได้ประจำปีพร้อมกับสร้างความมั่นคงทางการเงินเพื่อเตรียมรับการเกษียณได้อย่างลงตัว โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิบัตรทองอีกต่อไป

 

ที่มาข้อมูล

แสดงความคิดเห็น

 
 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.