ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับเงินหลังเกษียณ เมื่อประกันสังคมเกษียณอายุ 55 ปี

-A A +A
ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับเงินหลังเกษียณ เมื่อประกันสังคมเกษียณอายุ 55 ปี

ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับเงินหลังเกษียณ เมื่อประกันสังคมเกษียณอายุ 55 ปี

หมวดบทความ: 

ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับหลังเกษียณเมื่อประกันสังคมเกษียณอายุ 55 ปี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คนที่อาจจะไม่ใช่พนักงานของรัฐหรือข้าราชการ แต่อยากมีเงินบำเหน็จบำนาญหลังวัยเกษียณจะสามารถทำได้อย่างไรบ้างนั้น และเราจะสามารถใช้เงินได้เมื่อไหร่ มีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์อะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประกันสังคม

         ประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกัน แก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งมีหลายมาตราให้ได้ประโยชน์ทดแทน อย่างแรกที่เราควรทราบคือ เมื่อเราจ่ายเงินสะสมประกันสังคม เราจะมีสิทธิประโยชน์ทดแทน 7 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีว่างงาน และกรณีชราภาพ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง กรณีชราภาพกัน

 

กรณีชราภาพ

            กรณีชราภาพ คือ ผลประโยชน์ทดแทนเมื่อเกษียณอายุ โดยสามารถรับผลประโยชน์เมื่ออายุครบ 55 ปี หรือที่เรียกกันว่า ประกันสังคมเกษียณอายุ55 จะเข้าหลักเกณฑ์เมื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดย ประกันสังคมเกษียณอายุ55 แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ บำเหน็จชราภาพ (บำเหน็จประกันสังคม) และ บำนาญชราภาพ หรือ บำนาญประกันสังคม  โดยแต่ละประเภทมีรูปแบบ หลักเกณฑ์และประโยชน์ทดแทน ซึ่งจะเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

  • บำเหน็จชราภาพ (บำเหน็จประกันสังคม)
    • รูปแบบ
      1. จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
    • เงื่อนไขหลักเกณฑ์การใช้สิทธิ
      1. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน (น้อยกว่า 15 ปี)
      2. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
      3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    • ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ แบ่งเป็น 2 กรณี
      1. จ่ายเงินสมทบ น้อยกว่า 12 เดือน ได้ 1 ส่วน ได้แก่
        • จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
      2. จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป ได้จาก 3 ส่วน ได้แก่
        • จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
        • นายจ้างจ่ายเงินสมทบ
        • ผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด
  •  บำนาญชราภาพ (บำนาญประกันสังคม)
    • รูปแบบ
      1. จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต
    • เงื่อนไขหลักเกณฑ์การใช้สิทธิ
      1. จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป(15 ปี ขึ้นไป)
      2. อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
      3. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    • ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ แบ่งเป็น 2 กรณี
      1. กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเป็นรายเดือน
        • รายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
      2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน
        • ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ทุก ๆ 12 เดือน

เช็คเงินชราภาพประกันสังคม ได้ที่ไหนบ้าง

ผู้ประกันตนสามารถ เช็คเงินชราภาพประกันสังคม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ และที่ง่ายยิ่งกว่านั้น คือการเช็คสิทธิ จำนวนเงินสบทบเงินชราภาพได้ที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/wpr/main/login หรือ แอปพลิเคชันของประกันสังคม SSO Connect ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถโหลดได้ใน App store สำหรับชาว Apple และ Play Store สำหรับชาว Android

สิ่งสำคัญที่สุดคืออย่าลืมยื่นเรื่องขอคืนเงินออมชราภาพให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปีหลังจากคุณลาออกจากงาน เพราะหากเลยกำหนดแล้วจะทำให้คุณเสียสิทธิ์ทันที

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.plus.co.th/articles/PLUS-1241/เงินสมทบกรณีชราภาพ-ประกันสังคม-เลือก-บำเหน็จหรือบำนาญ

แสดงความคิดเห็น

 
 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.