ใส่ใจอาหารและหลักโภชนาการเพื่อเพิ่มความสูงให้กับลูกน้อย

-A A +A
ใส่ใจอาหารและหลักโภชนาการเพื่อเพิ่มความสูงให้กับลูกน้อย

ใส่ใจอาหารและหลักโภชนาการเพื่อเพิ่มความสูงให้กับลูกน้อย

การเจริญเติบโตในวัยเด็กนั้นมีความสำคัญมากๆ พ่อแม่จึงให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรกเสมอ เลือกผลิตภัณฑ์ก็จะเลือกที่ดีที่สุด เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน การได้เห็นลูกรักเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและสุขภาพดีสมบูรณ์ คือ สิ่งที่พ่อแม่ต้องการมากที่สุด ปัญหาเกณฑ์ความสูงของเด็กไทยและเด็กอาเซียนนั้น อาจจะไม่พัฒนาเท่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ สังเกตได้จากความสูงของนักกีฬาประเภทต่างๆ ที่สามารถแข่งกับชาวต่างประเทศอย่างประเทศทางยุโรปได้อย่างสูสีหรือใกล้เคียง อย่างที่เราเห็นในกีฬาบาสเก็ตบอล กีฬาวอลเลย์บอล ที่ต้องใช้ความสูงเป็นหลักหากจะชนะในเกมส์ แน่นอนว่าเทคนิคในการเล่นนั้นสำคัญไม่แพ้กัน แต่ถ้าเรามีข้อได้เปรียบทั้งความสูงและไหวพริบในการเล่นแล้วล่ะก็ เราสามารถคว้าแชมป์ได้อย่างแน่นอน

ความกังวลในเรื่องลูกจะไม่สูงนั้น พ่อแม่หลายคนคิดมาก เนื่องด้วยอาจจะเพราะกรรมพันธุ์ทางครอบครัวที่ไม่สูงมากนัก เด็กๆที่อยากสูงเองก็เครียดไปด้วย เพราะถ้าอยากประกอบอาชีพบางอาชีพ ที่ต้องใช้ความสูง อย่างเช่น นายแบบ นางแบบ แอร์โฮสเตส เมื่อเด็กไม่มีความสูงตามเกณฑ์ ก็อาจจะทำให้ไม่ได้ทำตามความฝันได้ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงได้เลือกเข้าปรึกษามืออาชีพอย่างคลินิกเพิ่มความสูงหรือสถาบันเพิ่มความสูงที่เข้าใจและช่วยในเรื่องการออกกำลังกาย การดูแลในเรื่องความสูง มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กิจกรรมต่างๆที่ถูกแบบมาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก อาหารและโภชนาการคือส่วนจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างให้เด็กเจริญเติบโตและสูงขึ้น เว็บไซต์ synphaet ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า แคลเซียม มีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และมีความสำคัญมากขึ้นในวัยรุ่นที่เริ่มมีช่วงโตเร็ว (growth spurt) อายุเฉลี่ยที่มีการสะสมแคลเซียมในอัตราสูงสุด คือ 14 ปี ในเพศชาย และ 12.5 ปี ในเพศหญิง โดยแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปจะดูดซึมได้เพียงร้อยละ 30 ดังนั้น เด็กควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโต และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสลายกระดูก หากขาดวิตามินดีจะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในทางเดินอาหารลดลง มวลกระดูกลดลง เด็กที่ขาดวิตามินดีรุนแรงอาจทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ซึ่งจะทำให้ตัวเตี้ยและขาโก่งได้ การรับประทานวิตามินดีเสริม ในกรณีที่มีภาวะขาดวิตามินดีควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ชนิดและปริมาณของวิตามินดีตามความเหมาะสมของรายบุคคลแต่ละราย และทำการตรวจติดตามระดับวิตามินดีในเลือดอย่างสม่ำเสมอ โปรตีน การกินอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเพียงพอมีความสำคัญต่อการขยายตัวของกระดูก เด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร (protein energy malnutrition) จะมีความสูงและน้ำหนักน้อยกว่าปกติ กระดูกบางกว่าปกติ เด็กที่ขาดโปรตีน ระดับฮอร์โมน IGF-1 จะต่ำลง ฮอร์โมน IGF-1 มีความสำคัญต่อการขยายตัวและแบ่งตัวของเซลล์กระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ดังนั้นโปรตีนที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต่อการเติบโตของกระดูก

แสดงความคิดเห็น

 
 

ข้อควรทราบ เนื่องจากผู้ดูแลหลักของเว็บไซต์เป็นคนตาบอด หากพบการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนและสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้งาน โปรดแจ้งทีมงานได้ในทุกช่องทาง

เราอยากให้สมาชิกทุกท่านอยู่กันอย่างครอบครัวที่อบอุ่น ให้สังคมภายในเว็บ เป็นสังคมที่ดี ดังนั้น สมาชิกทุกท่านโปรดเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น

ผลงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บ ให้ถือว่าลิขสิทธิ์เป็นของผู้เผยแพร่เอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปเผยแพร่ ก็อปปี้ หรือนำไปดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน แล้วถูกดำเนินคดีจากเจ้าของผลงาน ทางเว็บมิขอเกี่ยวข้อง เพราะได้แจ้งเตือนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว

หากพบบทความที่มีเนื้อหาไปในทางใส่ร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แจ้งเข้ามาได้ตามช่องทาง Email keangun2018@gmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางทีมงาน จะทำการตรวจสอบ และหากเป็นจริง จะนำผลงานดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ ไม่เกิน 1 วัน

Copyright © 2018-2024 keangun. All Right Reserved.